ความเป็นมา
คำว่า "ควาย" นั้นมีความหมายทั้งนัยตรงและความหมายเชิงเปรียบเทียบ "ควาย" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้เป็นสองอย่างคือ อย่างแรก หมายถึง สัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์กีบคู่รูปร่างใหญ่ สีดำหรือสีเทา เขาโค้ง ใต้คางและหน้าอกมีขนขาว และความหมายที่สอง หมายถึง คนโง่ เซ่อ หรือ
คนตัวใหญ่แต่ไม่ฉลาด คนมักพูดกันถึงความหมายในแบบที่สอง ซึ่งจะใช้พูดเปรียบเทียบถึงความโง่เง่า หรือ
ความไม่ดี มากกว่าการพูดถึงตัวสัตว์ที่เป็นควายจริง ๆ แต่คำว่า "ควาย" ก็เป็นคำไทยแท้ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่
ที่เปรียบเทียบก็มักจะใช้คำว่าควายทั้งนั้น เช่น สีซอให้ควายฟัง, ความวัวยังไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก, อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดายปั้นวัวปั้น
ควายให้ลูกท่านเล่น, เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน เป็นต้น ส่วนคำว่า "กระบือ" ซึ่งก็หมายถึงควายเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความถึงโง่ เซ่อ กระบือ จะเป็น
คำที่ใช้ในลักษณะเป็นทางการมากกว่าการพูดกันทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่า "ควาย" เป็นคำที่ไม่สุภาพซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้กันทั้งสองคำ ขึ้น
อยู่กับผู้ใช้ว่าจะถนัดใช้คำว่า ควายหรือกระบือ นอกจากนี้ยังมีคำว่า "เจ้าทุย" หรือ "ไอ้ทุย" ซึ่งก็หมายถึงควายเช่นกัน แต่คำว่า "ควายทุย" ในบางท้อง
ถิ่นจะหมายถึงควายที่มีลักษณะเขาสั้น ในประเทศเพื่อนบ้านเราและแถบประเทศอาเซียนก็จะมีชื่อเรียกต่างกันเช่น ประเทศกัมพูชา หรือชาวเขมรจะ
เรียกว่า กระบาย ประเทศมาเลเซีย จะเรียกว่า กระบาว (Krabau) และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งใช้ภาษาตากาล็อก เรียกว่า คาราบาว (Carabao)
การอนุรักษ์ควายแบบยั่งยืน
ก็คือ การปรับบทบาทหน้าที่ของควายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ
สถานการณ์สังคมปัจจุบันและอนาคต ตามหลักคิดของสำนักโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional) ที่
เน้นเรื่องการปรับตัวและการอยู่รอดโดยอาศัยพื้นฐานธรรมชาติเดิมของควายเป็นหลักในการปรับเปลี่ยน
ควายตระกูลที่เราใช้ไถนาในแถบเอเชียใต้นี้ เป็นควายน้ำที่ภาษาอังกฤษเรียก "Water-Buffalo" หรือภาษา
จีนเรียก "จุ๋ยงู้" เป็นสัตว์ชอบน้ำและว่ายน้ำเป็นตั้งแต่เกิด ดังนั้นการจัดแข่งขันกีฬาว่ายน้ำควาย จึงเป็นการดำเนินการที่อิงหลักพื้นฐานธรรมชาติ
ของควาย โดยดัดแปลงพฤติกรรมเพียงเล็กน้อยจากการที่เคยว่ายธรรมดามาเป็นการว่ายแข่งในลักษณะของนักกีฬา ซึ่งสัตว์ผู้ทรงพลังที่เป็นเทค
โนโลยีการผลิตข้าวเลี้ยงเรามาหลายพันปีอย่างเช่นควายนี้
จุดแข็ง
ของควายก็คือ การเป็นเทคโนโลยี พื้นบ้าน อาศัยหญ้ากินไม่ได้อาศัยน้ำมันกินเหมือนดั่งรถไถ เมื่อเจ็บป่วยหรือเสื่อมเสียก็สามารถรักษากันเอง
หรือซ่อมกันเองได้โดยไม่ต้องอาศัยใครหรือจ้างใครมาซ่อมเหมือนดั่งรถไถเช่นกัน และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ อายุการใช้งานยิ่งนานยิ่งงอกเงย
เต็มไปด้วยลูกหลานควาย แต่จักรกลสมัยใหม่นอกจากอายุการใช้งานมักจะสิ้นแล้ว ยิ่งใช้ไปนานเท่าไรก็ยิ่งพังทลายและต้องขายเป็นเศษเหล็ก
ไปในที่สุด ดังนั้น เทคโนโลยี-ควายจึงยังสามารถคงอยู่คู่กับสังคมเกษตร เพียงแต่จะเลือกเกษตรแนวไหน อย่างไร เพื่อใคร และกับใครเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น