วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความเป็นมาของควายไทย


ความเป็นมา


   คำว่า "ควาย" นั้นมีความหมายทั้งนัยตรงและความหมายเชิงเปรียบเทียบ "ควาย" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้เป็นสองอย่างคือ อย่างแรก หมายถึง สัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์กีบคู่รูปร่างใหญ่ สีดำหรือสีเทา เขาโค้ง ใต้คางและหน้าอกมีขนขาว และความหมายที่สอง หมายถึง คนโง่ เซ่อ หรือ
คนตัวใหญ่แต่ไม่ฉลาด คนมักพูดกันถึงความหมายในแบบที่สอง ซึ่งจะใช้พูดเปรียบเทียบถึงความโง่เง่า หรือ

ความไม่ดี มากกว่าการพูดถึงตัวสัตว์ที่เป็นควายจริง ๆ แต่คำว่า "ควาย" ก็เป็นคำไทยแท้ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่
ที่เปรียบเทียบก็มักจะใช้คำว่าควายทั้งนั้น เช่น สีซอให้ควายฟัง, ความวัวยังไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก, อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดายปั้นวัวปั้น
ควายให้ลูกท่านเล่น, เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน เป็นต้น ส่วนคำว่า "กระบือ" ซึ่งก็หมายถึงควายเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความถึงโง่ เซ่อ กระบือ จะเป็น
คำที่ใช้ในลักษณะเป็นทางการมากกว่าการพูดกันทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่า "ควาย" เป็นคำที่ไม่สุภาพซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้กันทั้งสองคำ ขึ้น
อยู่กับผู้ใช้ว่าจะถนัดใช้คำว่า ควายหรือกระบือ นอกจากนี้ยังมีคำว่า "เจ้าทุย" หรือ "ไอ้ทุย" ซึ่งก็หมายถึงควายเช่นกัน แต่คำว่า "ควายทุย" ในบางท้อง
ถิ่นจะหมายถึงควายที่มีลักษณะเขาสั้น ในประเทศเพื่อนบ้านเราและแถบประเทศอาเซียนก็จะมีชื่อเรียกต่างกันเช่น ประเทศกัมพูชา หรือชาวเขมรจะ
เรียกว่า กระบาย ประเทศมาเลเซีย จะเรียกว่า กระบาว (Krabau) และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งใช้ภาษาตากาล็อก เรียกว่า คาราบาว (Carabao)


การอนุรักษ์ควายแบบยั่งยืน

   ก็คือ การปรับบทบาทหน้าที่ของควายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ
สถานการณ์สังคมปัจจุบันและอนาคต ตามหลักคิดของสำนักโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional) ที่
เน้นเรื่องการปรับตัวและการอยู่รอดโดยอาศัยพื้นฐานธรรมชาติเดิมของควายเป็นหลักในการปรับเปลี่ยน
ควายตระกูลที่เราใช้ไถนาในแถบเอเชียใต้นี้ เป็นควายน้ำที่ภาษาอังกฤษเรียก "Water-Buffalo" หรือภาษา
จีนเรียก "จุ๋ยงู้" เป็นสัตว์ชอบน้ำและว่ายน้ำเป็นตั้งแต่เกิด ดังนั้นการจัดแข่งขันกีฬาว่ายน้ำควาย จึงเป็นการดำเนินการที่อิงหลักพื้นฐานธรรมชาติ
ของควาย โดยดัดแปลงพฤติกรรมเพียงเล็กน้อยจากการที่เคยว่ายธรรมดามาเป็นการว่ายแข่งในลักษณะของนักกีฬา ซึ่งสัตว์ผู้ทรงพลังที่เป็นเทค
โนโลยีการผลิตข้าวเลี้ยงเรามาหลายพันปีอย่างเช่นควายนี้


จุดแข็ง

   ของควายก็คือ การเป็นเทคโนโลยี พื้นบ้าน อาศัยหญ้ากินไม่ได้อาศัยน้ำมันกินเหมือนดั่งรถไถ เมื่อเจ็บป่วยหรือเสื่อมเสียก็สามารถรักษากันเอง
หรือซ่อมกันเองได้โดยไม่ต้องอาศัยใครหรือจ้างใครมาซ่อมเหมือนดั่งรถไถเช่นกัน และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ อายุการใช้งานยิ่งนานยิ่งงอกเงย
เต็มไปด้วยลูกหลานควาย แต่จักรกลสมัยใหม่นอกจากอายุการใช้งานมักจะสิ้นแล้ว ยิ่งใช้ไปนานเท่าไรก็ยิ่งพังทลายและต้องขายเป็นเศษเหล็ก
ไปในที่สุด ดังนั้น เทคโนโลยี-ควายจึงยังสามารถคงอยู่คู่กับสังคมเกษตร เพียงแต่จะเลือกเกษตรแนวไหน อย่างไร เพื่อใคร และกับใครเท่านั้น

ลักษณะประจำพันธุ์ของควายไทย

ลักษณะประจำพันธุ์ของควายไทย


   ลักษณะประจำพันธุ์ของควายไทย เกษตรกรส่วนใหญ่ระบุลักษณะความงามประจำพันธุ์ของควายไทยที่สอดคล้องกัน โดยมีลักษณะสำคัญซึ่งเป็นจุดสังเกต 5 แห่งด้วยกัน คือ ตรงใต้คอต้องเป็นบั้งสีขาว ต้องมีจุดแต้มบนใบหน้า มีข้อเท้าขาว มีอัณฑะและปลายลึงค์ที่ไม่หย่อนยาน หนังและขนมีสีเทา เทาดำหรือเทาแดง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
   1.1 บั้งคอสีขาว บางแห่งเรียกอ้องคอ หรือบ้องคอ ลักษณะขนและหนังบริเวณใต้คอเป็นสีขาวรูปตัววี (V) เหมือนแถบบั้งนายสิบ (Chevron) ซึ่งพาดขวางบริเวณใต้คอ(ภาพที่1) โดยมีความเชื่อว่า นอกจากเป็นลักษณะที่ส่งเสริมให้ควายดูงามแล้ว ยังถือเป็นลักษณะมงคล โดยปราชญ์ชาวบ้านระบุว่าถ้าเป็นควายไทยต้องปรากฏลักษณะนี้เด่นชัด จากตำแหน่งและจำนวนของบั้งคอยังสามารถจำแนกระดับชั้นความงามได้เป็น 3 ระดับ คือ ควายสามอ้องหรือควายสามบั้ง มีตำแหน่งของบั้งคออยู่ใต้คอหอย 1 บั้ง และต่ำลงไปบริเวณเหนืออก 2 บั้ง รวมเป็น 3 บั้ง ซึ่งถ้าประกอบด้วยลักษณะอื่น เช่น หน้าตา ท่าทาง รูปร่างทั่วไปฯ ที่ได้ลักษณะครบถ้วนก็จะถือว่าเป็นควายงามในระดับมาก รองลงมาคือ ควายสองอ้องหรือควายสองบั้ง ตำแหน่งของบั้งคออยู่ใต้คอหอย 1 บั้ง และบริเวณเหนืออก 1 บั้ง ซึ่งถ้าประกอบด้วยลักษณะอื่นๆ ครบถ้วนก็จัดว่าเป็นควายงามเช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะควายทั้งสองประเภทนี้ค่อนข้างหายาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในมือเกษตรกรที่นิยมเลี้ยงควายงามซึ่งมักมีราคาสูงกว่าควายที่เลี้ยงทั่วไป และสำหรับควายที่เลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อยอื่นๆ ซึ่งเป็นควายส่วนใหญ่ของประเทศ จะมีลักษณะของบั้งคอไม่ชัดจนและมักจะมีเพียง 1 บั้งที่พอมองเห็น จึงเรียก ควายหนึ่งอ้องหรือควายหนึ่งบั้ง ซึ่งไม่จัดเป็นควายงาม ปราชญ์ชาวบ้านมีความเห็นว่าควายไทย จะต้องปรากฏลักษณะบั้งคอทุกตัว แต่บางตัวอาจมองเห็นไม่ชัดเจนถ้าไม่สังเกตให้ดี ซึ่งทำให้ไม่มีจุดเด่น
   1.2 จุดขนสีขาวบริเวณใบหน้า ลักษณะเป็นจุดขนสีขาวบนใบหน้าของควาย (ภาพที่ 2) เป็นการส่งเสริมให้หน้าตาของควายไทยดูเด่น มีจุดดึงดูดสายตา โดยปกติจะพบจุดขนสีขาวบนส่วนของใบหน้า รวม 7 จุด คือ
1) บริเวณเหนือหัวตา นิยมเรียกจุดนี้ว่ากะบี้จับตา หรือกะพี้จับตา จะต้องมีขนสีขาวเด่นชัด ขนาดและตำแหน่งเหมือนกันทั้งสองข้าง รวมเป็น 2 จุด
2) บริเวณแก้มด้านซ้ายและขวา รวม 2 จุด ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งประมาณจุดตัดของเส้นตรงที่ลากจากตาของควายลงมาในแนวดิ่งตัดกับสายสะพาย ซึ่งทั้งสองข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน
3) บริเวณกรามล่างด้านซ้ายและขวา รวม 2 จุด และในแนวเดียวกันนี้มีจุดขนสีขาวอีก 1 จุด อยู่ใต้คางในตำแหน่งที่ตรงกัน โดยมีลักษณะเหมือนเม็ดไฝขนาดใหญ่และมีขนยาวเหมือนเคราผู้ชาย ซึ่งเม็ดไฝนี้จะพบในควายไทยทุกตัว รวมทั้งหมดเป็น 3 จุดด้วยกัน
ปราชญ์ชาวบ้าน ระบุว่าถ้าเป็นควายที่ถือว่างาม จะต้องมีจุดขาวนี้ชัดเจนบนใบหน้า มีขนาดเท่ากันและอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน จึงจะทำให้ใบหน้าดูเด่นสะดุดตา ส่วนควายที่งามรองลงมา และควายทั่วๆไป จะมีจุดขาวเฉพาะบางตำแหน่ง ขนาดเล็ก และสีขาวไม่ค่อยเด่นชัด ซึ่งควายที่มีจุดขาวบนใบหน้านี้ คำพูดที่เป็นภาษาปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จะเรียกลักษณะนี้ว่า “ตาแต้ม แก้มจ้ำ”
   1.3 ข้อเท้าขาว ข้อเท้าหรือแข้งจะปรากฏเป็นขนสีขาวตั้งแต่ช่วงข้อต่อจากเล็บขึ้นมาถึงหัวเข่าทั้งขาหน้า และขาหลัง มองดูเหมือนการสวมถุงเท้าสีขาว (ภาพที่ 3 ) โดยจะมีสีดำขีดขวางตรงตำแหน่งข้อกีบ ควายงามมักจะเห็นถุงเท้าสีขาวชัดเจน ทั้งขาหน้าและขาหลัง และมีขนสีดำตรงข้อต่อกีบชัดเจน ส่วนควายควายทั่วๆ ไป มักพบสีขาวของข้อเท้าไม่ชัดเจน โดยเฉพาะควายลูกผสมที่มีสายเลือดของควายนมหรือควายมูร่าห์ สีขนบริเวณของข้อขานี้จะออกเป็นสีเทาอมดำ แตกต่างกับควายไทยอย่างชัดเจน (ปราชญ์: นครพนม)
   1.4 สีหนังและขน ลักษณะสีของควายจะเป็นสีผสมของหนังและขน และเนื่องจากควายไทยโดยปกติขนไม่ดกหนามาก เหมือนควายพันธุ์นมหรือควายมูราห์ สีที่เห็นจึงเป็นสีของหนังเป็นส่วนใหญ่ โดยสีของควายอาจแตกต่างกันได้ จากแหล่งน้ำที่เลี้ยง สีของดินที่ควายทำปลัก ความสมบูรณ์ร่างกาย รวมถึงช่วงอายุต่างฯ สีขนของควายไทย ตอนอายุยังน้อยส่วนใหญ่จะเป็นสีเทาขาว หรือเทาทอง และเมื่ออายุมากขึ้นส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นสีดำเข้มขึ้น สีเทาหรือสีเลา หรือเป็นสีเทาแดง(สีเปลือกเมล็ดมะขาม) สีของควายที่นิยมว่าเป็นควายงาม สำหรับแม่พันธุ์ จะมีสีเทาถึงเทาดำ ไม่ดำเข้มเท่าเพศผู้ ส่วนพ่อพันธุ์ จะมีสีเทาแดง หรือเทาดำ สีขนจะเป็นสีดำ หรือแดงเหมือนสีของเปลือกเมล็ดมะขาม และปราชญ์ให้ความเห็นว่าถ้าพบควายที่มีหนังและขนสีดำเข้ม และขนดกยาวกว่าควายทั่วไป แสดงว่าอาจมีสายเลือดควายมูร่าห์ผสมอยู่

สายพันธ์

สายพันธ์

แยกได้เป็นสองกลุ่มคือควายป่า และควายบ้าน และควายบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ควายปลัก (Swamp buffalo) ควายแม่น้ำ (River buffalo) ทั้งสองชนิดจัดอยู่ในวงศ์ และ สกุล เดียวกันคือ Bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่า ควายปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนควายแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้ 

ควายปลัก




เลี้ยงกันในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร ชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัดเจน
ควายแม่น้ำ


พบในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก ให้นมมากและเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม ไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ นิลิราวี เมซานี เซอติ และเมดิเตอเรเนียน เป็นต้น กระบือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่