วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

การคัดเลือกควายเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์


1. การคัดเลือกควายเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กระบือจะต้องมีลักษณะดี มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพ การใช้อาหารดี มีรูปร่างสมส่วน มีอายุ 2.5 – 3 ปี เพศผู้สูงไม่น้อยกว่า 130 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 190 เซนติเมตร เพศเมียสูงไม่น้อยกว่า 125 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 185 เซนติเมตร ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคัดเลือกกระบือ หรือ ควายมาเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ดังนี้

1.1 ดูจากสมุดประวัติ (pedigree) มาจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

1.2 ทำการทดสอบลูกหลาน (progeny test) พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ตัวใดให้ดูที่มีลักษณะก็คัดไว้ทำพันธุ์

1.3 คัดเลือกโดยการตัดสินจากการประกวด ส่วนมากจะให้เป็นระดับคะแนนตามปกติกระบือให้ลูกปีละตัวหรือ 3 ปี 2 ตัว ถ้ากระบือให้ลูกต่ำกว่าร้อยละ 60 – 70 ควรตรวจดูข้อบกพร่องเพื่อที่จะต้องแก้ไข เช่น การให้อาหาร แร่ธาตุ การจัดการผสมพันธุ์ให้ถูกช่วงระยะของการเป็นสัด


2. การผสมพันธุ์ ควาย
โดยปกติกระบือจะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์นั้น เพศผู้จะมีอายุ 3 ถึง 4 ปี เพศเมียมีอายุ 2 – 3 ปี แล้วแต่ความสมบูรณ์ของกระบือ จะใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว คุมฝูงแม่พันธุ์ได้ไม่เกิน 25 ตัว แต่ถ้าแยกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เลี้ยงต่างหากกัน พ่อพันธุ์ 11 ตัว สามารถคุมฝูงตัวเมียได้ 100 ตัว โดยสังเกตว่าแม่พันธุ์ตัวไหนเป็นสัดก็จะจับตัวผู้เข้าผสม การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควายปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ กระบือที่แสดงอาการเป็นสัดจะแสดงอาการดังนี้
-เอาหัวชนเพศผู้เหมือนหยอกล้อ
-เอาหัวคลอเคลียใต้คอและท้องของเพศผู้
-ใช้ลำตัวถูลำตัวเพศผู้
-เดินนำหน้าโดยหันก้นให้เพศผู้ บางครั้งอาจจะมีการยกหางขึ้น
-มีเสียงคำรามเบา ๆ
-ปัสสาวะบ่อย ๆ
2.2 เมื่อพบอาการเป็นสัดของแม่พันธุ์นานประมาณ 24 ชั่วโมงแล้ว ก็ทำการผสม อาจใช้วิธีการให้พ่อพันธุ์ผสมโดยตรงหรือผสมเทียมก็ได้
2.3 หากผสมไม่ติดจะกลับมาเป็นสัดอีกทุก ๆ 28 – 46 วัน ให้ทำการผสมใหม่ แต่ถ้าแม่พันธุ์ไม่เป็นสัดในระยะเวลา 1 เดือน ก็ถือว่าผสมติดและตั้งท้อง 

ควายปลัก


                        ควายปลัก

กระบือปลักชนิดนี้จะเลี้ยงกันในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกล ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาวเป็นต้น แต่เดิมในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม กระบือชนิดนี้จะเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร

สำหรับลักษณะทั่วไปของกระบือปลักไทยส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว กระบือชนิดนี้ จะชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัด 
    

โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงควาย


โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงควาย   
  
กระบือสามารถเลี้ยงในที่ลุ่มได้ เนื่องจากกระบือมีระบบย่อยอาหารที่ยาวกว่าโคและมีจุรินทรีย์ชนิดที่โคไม่มี ดังนั้นกระบือจึงสามารถใช้ประโยชน์อาหารหยาบที่คุณภาพต่ำซึ่งอยู่ในที่ลุ่มเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค แต่กระบือเป็นสัตว์ไม่ทนร้อนจึงชอบนอนปลักทำให้แปลงหญ้าเกิดความเสียหาย การเลี้ยงกระบือในรูปฟาร์มจึงเป็นไปได้ยาก 

กระบือ หรือควายจะใช้ประโยชน์จากหญ้าธรรมชาติ หญ้าที่เป็นวัชพืชฟางข้าวและสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกระบือโตเร็วและมีไขมันน้อย กระบือจะมีน้ำหนักมากกว่าโคพันธุ์เมื่ออายุเท่ากันแต่กระบือจะเลี้ยงง่ายและต้นทุนต่ำกว่าและให้เนื้อมากกว่า และเนื้อกระบือมีไขมันต่ำจึงเหมาะในการบริโภคมากกว่าโค แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกระบือ ขุนแบบโคขุนจะต้องลงทุนสูงและผลที่ได้จะไม่คุ้มทางเศรษฐกิจ 

    
กระบือหรือควายสามารถใช้แรงงานในไร่นาและลากเกวียนได้ดีกว่าโคโดยทั่วไป กระบือไถนาได้วันละ 4 ถึง 6 ชั่วโมง หรือประมาณครึ่งไร่ถึงหนี่งไร่การใช้กระบือไถนาจะเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าใช้ รถไถนาขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังจะได้ปุ๋ยจากมูลใส่ไร่นาอีกด้วย ประมาณได้ว่ากระบือหนึ่งตัวให้มูลเป็นปุ๋ยได้ถึงปีละหนึ่งถึงสองตัน ทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าปุ๋ยลงได้จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันมูลกระบือสามารถขายได้ราคาหากเลี้ยงกระบือหลายตัวก็อาจมีรายได้จาก การขายมูลกระบือได้อีกด้วย  

ปัญหาในการเลี้ยงควายของเกษตรกร


                   ปัญหาการเลี้ยงควายของเกษตรกร  
    
เกษตรกรไม่สนใจแม่กระบือที่เลี้ยงว่าจะ ได้รับผสมพันธุ์หรือไม่เนื่องจากเกษตรกรเลี้ยงกระบือรายละไม่กี่แม่ การเลี้ยงพ่อกระบือไว้เพื่อใช้ผสมพันธุ์ในฝูงของตนเองมีภาระค่อนข้างมากจึง ไม่เลี้ยงไว้แต่จะปล่อยกระบือไปเลี้ยงรวมกันอยู่ตามทุ่งนาหลังเก็บเกี่ยว หรือที่ว่างเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ เมื่อกระบือเป็นสัดก็จะผสมกระบือที่เลี้ยงปล่อยอยู่ในฝูง ซึ่งกระบือเพศผู้ดังกล่าวมักจะมีขนาดเล็กและแพร่กระจายลักษณะที่ไม่ต้องการ กระจายไปในฝูงผสมพันธุ์ การที่กระบือมีขนาดและน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ลดลง อัตราการตกลูกต่ำเนื่องจากปัญหาการผสมพันธุ์และการไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร ของเกษตรกรเองมาเป็นเวลานาน เช่นการปล่อยให้กระบือพ่อลูกผสมกันเองจนทำให้เกิดเลือดชิดหรือการตอนกระบือ เพศผู้ตัวใหญ่เพื่อให้ง่ายต่อการด ูและการขายได้ราคาโดยไม่มีการคัดเลือกกระบือตัวใหญ่หรือโตเร็วเก็บไว้เป็น พ่อ-แม่พันธุ์ ทำให้ผลผลิตกระบือไม่เพียงพอต่อการบริโภค




ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการลดจำนวนลง อย่างรวดเร็วของประชากรกระบือในประเทศ ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 2.3 ล้านตัว (กรมปศุสัตว์,2540) โดยมีอัตราการลดจำนวนลดจำนวนลงของกระบือร้อยละ 2.94 ต่อปี (ศักดิ์สงวน, 2540) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากระบือถูกนำไปฆ่าเพื่อการบริโภคมากกว่าการผลิต การฆ่ากระบือเพื่อบริโภคเนื้ออย่างผิดกฎหมาย มีการนำกระบือเพศเมียและกระบือท้องส่งเข้าโรงฆ่าชำแหละซาก จะเห็นได้ว่าจำนวนกระบือที่ส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์อย่างถูกกฎหมาย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงโดยการนำเอารถไถนาขนาดเล็กมาใช้งานแทน การขาดแคลนแรงงานเลี้ยงกระบือหรือไม่มีที่ดินที่จะเลี้ยงกระบือ นอกจากนี้ปัญหาลูกกระบือในฝูงของเกษตรกรมีอัตราการตายก่อนหย่านมสูงมาก ประมาณ 20-30 % ตายจากโรคพยาธิภายใน เกษตรกรไม่สนใจในด้านสุขภาพของกระบือ เช่นไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่องในส่วนของการพัฒนาด้วนวิชาการการเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์กระบือซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการซึ่งได้มีการดำเนินการมา มากและเป็นเวลานานพอสมควร แต่การนำผลงานไปถ่ายทอดและพัฒนาการเลี้ยงกระบือให้แก่เกษตรกรก็ยังไม่มีรูป แบบที่แน่นอน ถูกต้องและชัดเจน เกษตรกรรายย่อยจะขาดแคลนกระบือที่จะใช้แรงงาน ในการทำไร่นา และผลิตลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ไม่มีการลุงทุน การเลี้ยงกระบือที่ให้ผลผลิตต่ำไม่สามารถจะมองเห็นผลร้ายแรงในเวลาอันใกล้ ได้ แต่ผลเสียหายจะเกิดขึ้นที่ละน้อยไม่รู้ตัว และเมื่อมีผลผลิตต่ำก็เลิกเลี้ยงไปเลย

การเลี้ยงดูควาย

                            การเลี้ยงดูควาย

        แยกกระบือที่จวนคลอดออกไว้ต่างหากแล้ว ควรหาหญ้าหรือฟางแห้ง ๆ ปูรองนอนและหมั่นทำความสะอาดบ้าง สถานที่ที่จะแยกแม่กระบือออกมาควรสะอาด เงียบควรขลิบขนที่อยู่ใกล้ ๆ อวัยวะสืบพันธุ์ อาหารที่ให้ควรอ่อนย่อยง่าย เช่น รำละเอียดและอื่น ๆ กระบือแม่ที่เคยแท้งหรือรกค้างเก่ง ควรแยกเอาไว้อีกต่างหาก และเมื่อทำการคลอดแล้ว ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราดในคอกและดิน และเผาหญ้าหรือฟางแห้งที่รองให้หมด เมื่อแม่กระบือจะคลอดก็ควรมาดูบ้าง เผื่อจะต้องช่วยเหลือ แต่ส่วนมากแล้วไม่ต้องช่วย ลูกกระบือที่อยู่ในท่าคลอดที่ปกติก็คือ หัวคอและขาหน้าจะออกก่อน ถ้าเอาหลังออกหรือก้นออก นั่นแสดงว่าเกิดคลอดลูกยากแล้ว ต้องเรียกหาสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข การที่ให้ผู้เลี้ยงมาคอยดูก็เพียงแต่ว่าเพียงแต่ว่าเพื่อช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ เช่น ดูว่ารกออกเป็นปกติหรือไม่ หรือบางที่ลูกโผล่ออกมาแล้ว แต่แม่เบ่งไม่ออก ก็ช่วยดึงเบา ๆ (หลังจากได้ทำความสะอาดมือเรียบร้อยแล้ว ) ในขณะที่เบ่งหรือถ้าถุงที่หุ้มตัวลูกไม่ขาดก็ช่วยฉีกออก ถ้าลูกกระบือหายใจไม่ออกโดยมีอะไรมาอุดจมูกก็ช่วยควักออกหรือเมื่อลูกออกแล้วแต่รกห้อยอยู่นานไม่ออกก็ช่วยดึงบ้าง ถ้าลูกกระบือแน่นิ่งไม่หายใจ ก็อาจช่วยโดยดึงลิ้นออกมาจากปาก และจับขาหลังยกขึ้นให้หัวห้อยและผายปอด เป็นต้น ลูกกระบือจะตั้งต้นหายใจโดยถอนหายใจหรือไอเบา ๆ นั่นแสดงว่า การหายใจหรือชีวิตของลูกกระบือเริ่มต้นแล้ว เมื่อคลอดลูกแล้วแต่ลูกยังไม่ได้กินนมแม่ ก็ควรจับอุ้มช่วยลูกโดยให้ลูกดูดนมเหลือง(colostrum)น้ำนมระยะแรกนี้สำคัญมาก เพราะเป็นอาหารและยาถ่ายที่สำคัญที่สุดต้องให้ลูกกินให้ได้ ส่วนแม่กระบือเมื่อคลอดลูกแล้ว ควรให้น้ำและหญ้าอ่อน ๆ และให้พักผ่อนได้รับความสบาย ถ้าแม่กระบือไม่เลียลูกควรใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดถูตัวลูกกระบือให้แห้งเพื่อทำให้เลือดกระจายไปทั่ว ๆ ตัวหรือใช้น้ำเกลือทาลูก เพื่อเร่งเร้าทำให้แม่กระบือเลียลูก และควรแต้มที่สายสะดือด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดิน ลูกกระบือที่แข็งแรงจะยืนขึ้นและกินนมภายใน 1 ชั่วโมงภายหลังคลอด