วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

การคัดเลือกควายเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์


1. การคัดเลือกควายเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กระบือจะต้องมีลักษณะดี มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพ การใช้อาหารดี มีรูปร่างสมส่วน มีอายุ 2.5 – 3 ปี เพศผู้สูงไม่น้อยกว่า 130 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 190 เซนติเมตร เพศเมียสูงไม่น้อยกว่า 125 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 185 เซนติเมตร ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคัดเลือกกระบือ หรือ ควายมาเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ดังนี้

1.1 ดูจากสมุดประวัติ (pedigree) มาจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

1.2 ทำการทดสอบลูกหลาน (progeny test) พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ตัวใดให้ดูที่มีลักษณะก็คัดไว้ทำพันธุ์

1.3 คัดเลือกโดยการตัดสินจากการประกวด ส่วนมากจะให้เป็นระดับคะแนนตามปกติกระบือให้ลูกปีละตัวหรือ 3 ปี 2 ตัว ถ้ากระบือให้ลูกต่ำกว่าร้อยละ 60 – 70 ควรตรวจดูข้อบกพร่องเพื่อที่จะต้องแก้ไข เช่น การให้อาหาร แร่ธาตุ การจัดการผสมพันธุ์ให้ถูกช่วงระยะของการเป็นสัด


2. การผสมพันธุ์ ควาย
โดยปกติกระบือจะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์นั้น เพศผู้จะมีอายุ 3 ถึง 4 ปี เพศเมียมีอายุ 2 – 3 ปี แล้วแต่ความสมบูรณ์ของกระบือ จะใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว คุมฝูงแม่พันธุ์ได้ไม่เกิน 25 ตัว แต่ถ้าแยกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เลี้ยงต่างหากกัน พ่อพันธุ์ 11 ตัว สามารถคุมฝูงตัวเมียได้ 100 ตัว โดยสังเกตว่าแม่พันธุ์ตัวไหนเป็นสัดก็จะจับตัวผู้เข้าผสม การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควายปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ กระบือที่แสดงอาการเป็นสัดจะแสดงอาการดังนี้
-เอาหัวชนเพศผู้เหมือนหยอกล้อ
-เอาหัวคลอเคลียใต้คอและท้องของเพศผู้
-ใช้ลำตัวถูลำตัวเพศผู้
-เดินนำหน้าโดยหันก้นให้เพศผู้ บางครั้งอาจจะมีการยกหางขึ้น
-มีเสียงคำรามเบา ๆ
-ปัสสาวะบ่อย ๆ
2.2 เมื่อพบอาการเป็นสัดของแม่พันธุ์นานประมาณ 24 ชั่วโมงแล้ว ก็ทำการผสม อาจใช้วิธีการให้พ่อพันธุ์ผสมโดยตรงหรือผสมเทียมก็ได้
2.3 หากผสมไม่ติดจะกลับมาเป็นสัดอีกทุก ๆ 28 – 46 วัน ให้ทำการผสมใหม่ แต่ถ้าแม่พันธุ์ไม่เป็นสัดในระยะเวลา 1 เดือน ก็ถือว่าผสมติดและตั้งท้อง 

ควายปลัก


                        ควายปลัก

กระบือปลักชนิดนี้จะเลี้ยงกันในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกล ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาวเป็นต้น แต่เดิมในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม กระบือชนิดนี้จะเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร

สำหรับลักษณะทั่วไปของกระบือปลักไทยส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว กระบือชนิดนี้ จะชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัด 
    

โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงควาย


โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงควาย   
  
กระบือสามารถเลี้ยงในที่ลุ่มได้ เนื่องจากกระบือมีระบบย่อยอาหารที่ยาวกว่าโคและมีจุรินทรีย์ชนิดที่โคไม่มี ดังนั้นกระบือจึงสามารถใช้ประโยชน์อาหารหยาบที่คุณภาพต่ำซึ่งอยู่ในที่ลุ่มเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค แต่กระบือเป็นสัตว์ไม่ทนร้อนจึงชอบนอนปลักทำให้แปลงหญ้าเกิดความเสียหาย การเลี้ยงกระบือในรูปฟาร์มจึงเป็นไปได้ยาก 

กระบือ หรือควายจะใช้ประโยชน์จากหญ้าธรรมชาติ หญ้าที่เป็นวัชพืชฟางข้าวและสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกระบือโตเร็วและมีไขมันน้อย กระบือจะมีน้ำหนักมากกว่าโคพันธุ์เมื่ออายุเท่ากันแต่กระบือจะเลี้ยงง่ายและต้นทุนต่ำกว่าและให้เนื้อมากกว่า และเนื้อกระบือมีไขมันต่ำจึงเหมาะในการบริโภคมากกว่าโค แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกระบือ ขุนแบบโคขุนจะต้องลงทุนสูงและผลที่ได้จะไม่คุ้มทางเศรษฐกิจ 

    
กระบือหรือควายสามารถใช้แรงงานในไร่นาและลากเกวียนได้ดีกว่าโคโดยทั่วไป กระบือไถนาได้วันละ 4 ถึง 6 ชั่วโมง หรือประมาณครึ่งไร่ถึงหนี่งไร่การใช้กระบือไถนาจะเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าใช้ รถไถนาขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังจะได้ปุ๋ยจากมูลใส่ไร่นาอีกด้วย ประมาณได้ว่ากระบือหนึ่งตัวให้มูลเป็นปุ๋ยได้ถึงปีละหนึ่งถึงสองตัน ทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าปุ๋ยลงได้จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันมูลกระบือสามารถขายได้ราคาหากเลี้ยงกระบือหลายตัวก็อาจมีรายได้จาก การขายมูลกระบือได้อีกด้วย  

ปัญหาในการเลี้ยงควายของเกษตรกร


                   ปัญหาการเลี้ยงควายของเกษตรกร  
    
เกษตรกรไม่สนใจแม่กระบือที่เลี้ยงว่าจะ ได้รับผสมพันธุ์หรือไม่เนื่องจากเกษตรกรเลี้ยงกระบือรายละไม่กี่แม่ การเลี้ยงพ่อกระบือไว้เพื่อใช้ผสมพันธุ์ในฝูงของตนเองมีภาระค่อนข้างมากจึง ไม่เลี้ยงไว้แต่จะปล่อยกระบือไปเลี้ยงรวมกันอยู่ตามทุ่งนาหลังเก็บเกี่ยว หรือที่ว่างเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ เมื่อกระบือเป็นสัดก็จะผสมกระบือที่เลี้ยงปล่อยอยู่ในฝูง ซึ่งกระบือเพศผู้ดังกล่าวมักจะมีขนาดเล็กและแพร่กระจายลักษณะที่ไม่ต้องการ กระจายไปในฝูงผสมพันธุ์ การที่กระบือมีขนาดและน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ลดลง อัตราการตกลูกต่ำเนื่องจากปัญหาการผสมพันธุ์และการไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร ของเกษตรกรเองมาเป็นเวลานาน เช่นการปล่อยให้กระบือพ่อลูกผสมกันเองจนทำให้เกิดเลือดชิดหรือการตอนกระบือ เพศผู้ตัวใหญ่เพื่อให้ง่ายต่อการด ูและการขายได้ราคาโดยไม่มีการคัดเลือกกระบือตัวใหญ่หรือโตเร็วเก็บไว้เป็น พ่อ-แม่พันธุ์ ทำให้ผลผลิตกระบือไม่เพียงพอต่อการบริโภค




ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการลดจำนวนลง อย่างรวดเร็วของประชากรกระบือในประเทศ ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 2.3 ล้านตัว (กรมปศุสัตว์,2540) โดยมีอัตราการลดจำนวนลดจำนวนลงของกระบือร้อยละ 2.94 ต่อปี (ศักดิ์สงวน, 2540) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากระบือถูกนำไปฆ่าเพื่อการบริโภคมากกว่าการผลิต การฆ่ากระบือเพื่อบริโภคเนื้ออย่างผิดกฎหมาย มีการนำกระบือเพศเมียและกระบือท้องส่งเข้าโรงฆ่าชำแหละซาก จะเห็นได้ว่าจำนวนกระบือที่ส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์อย่างถูกกฎหมาย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงโดยการนำเอารถไถนาขนาดเล็กมาใช้งานแทน การขาดแคลนแรงงานเลี้ยงกระบือหรือไม่มีที่ดินที่จะเลี้ยงกระบือ นอกจากนี้ปัญหาลูกกระบือในฝูงของเกษตรกรมีอัตราการตายก่อนหย่านมสูงมาก ประมาณ 20-30 % ตายจากโรคพยาธิภายใน เกษตรกรไม่สนใจในด้านสุขภาพของกระบือ เช่นไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่องในส่วนของการพัฒนาด้วนวิชาการการเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์กระบือซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการซึ่งได้มีการดำเนินการมา มากและเป็นเวลานานพอสมควร แต่การนำผลงานไปถ่ายทอดและพัฒนาการเลี้ยงกระบือให้แก่เกษตรกรก็ยังไม่มีรูป แบบที่แน่นอน ถูกต้องและชัดเจน เกษตรกรรายย่อยจะขาดแคลนกระบือที่จะใช้แรงงาน ในการทำไร่นา และผลิตลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ไม่มีการลุงทุน การเลี้ยงกระบือที่ให้ผลผลิตต่ำไม่สามารถจะมองเห็นผลร้ายแรงในเวลาอันใกล้ ได้ แต่ผลเสียหายจะเกิดขึ้นที่ละน้อยไม่รู้ตัว และเมื่อมีผลผลิตต่ำก็เลิกเลี้ยงไปเลย

การเลี้ยงดูควาย

                            การเลี้ยงดูควาย

        แยกกระบือที่จวนคลอดออกไว้ต่างหากแล้ว ควรหาหญ้าหรือฟางแห้ง ๆ ปูรองนอนและหมั่นทำความสะอาดบ้าง สถานที่ที่จะแยกแม่กระบือออกมาควรสะอาด เงียบควรขลิบขนที่อยู่ใกล้ ๆ อวัยวะสืบพันธุ์ อาหารที่ให้ควรอ่อนย่อยง่าย เช่น รำละเอียดและอื่น ๆ กระบือแม่ที่เคยแท้งหรือรกค้างเก่ง ควรแยกเอาไว้อีกต่างหาก และเมื่อทำการคลอดแล้ว ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราดในคอกและดิน และเผาหญ้าหรือฟางแห้งที่รองให้หมด เมื่อแม่กระบือจะคลอดก็ควรมาดูบ้าง เผื่อจะต้องช่วยเหลือ แต่ส่วนมากแล้วไม่ต้องช่วย ลูกกระบือที่อยู่ในท่าคลอดที่ปกติก็คือ หัวคอและขาหน้าจะออกก่อน ถ้าเอาหลังออกหรือก้นออก นั่นแสดงว่าเกิดคลอดลูกยากแล้ว ต้องเรียกหาสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข การที่ให้ผู้เลี้ยงมาคอยดูก็เพียงแต่ว่าเพียงแต่ว่าเพื่อช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ เช่น ดูว่ารกออกเป็นปกติหรือไม่ หรือบางที่ลูกโผล่ออกมาแล้ว แต่แม่เบ่งไม่ออก ก็ช่วยดึงเบา ๆ (หลังจากได้ทำความสะอาดมือเรียบร้อยแล้ว ) ในขณะที่เบ่งหรือถ้าถุงที่หุ้มตัวลูกไม่ขาดก็ช่วยฉีกออก ถ้าลูกกระบือหายใจไม่ออกโดยมีอะไรมาอุดจมูกก็ช่วยควักออกหรือเมื่อลูกออกแล้วแต่รกห้อยอยู่นานไม่ออกก็ช่วยดึงบ้าง ถ้าลูกกระบือแน่นิ่งไม่หายใจ ก็อาจช่วยโดยดึงลิ้นออกมาจากปาก และจับขาหลังยกขึ้นให้หัวห้อยและผายปอด เป็นต้น ลูกกระบือจะตั้งต้นหายใจโดยถอนหายใจหรือไอเบา ๆ นั่นแสดงว่า การหายใจหรือชีวิตของลูกกระบือเริ่มต้นแล้ว เมื่อคลอดลูกแล้วแต่ลูกยังไม่ได้กินนมแม่ ก็ควรจับอุ้มช่วยลูกโดยให้ลูกดูดนมเหลือง(colostrum)น้ำนมระยะแรกนี้สำคัญมาก เพราะเป็นอาหารและยาถ่ายที่สำคัญที่สุดต้องให้ลูกกินให้ได้ ส่วนแม่กระบือเมื่อคลอดลูกแล้ว ควรให้น้ำและหญ้าอ่อน ๆ และให้พักผ่อนได้รับความสบาย ถ้าแม่กระบือไม่เลียลูกควรใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดถูตัวลูกกระบือให้แห้งเพื่อทำให้เลือดกระจายไปทั่ว ๆ ตัวหรือใช้น้ำเกลือทาลูก เพื่อเร่งเร้าทำให้แม่กระบือเลียลูก และควรแต้มที่สายสะดือด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดิน ลูกกระบือที่แข็งแรงจะยืนขึ้นและกินนมภายใน 1 ชั่วโมงภายหลังคลอด

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

เกล็ดความรู้เกี่ยวกับควาย


                                                     เกล็ดความรู้เกี่ยวกับควาย

  โดยธรรมชาติควายว่ายน้ำเก่ง...ตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 สัตว์เลี้ยงอื่น วัว ไก่ หมูฯลฯ จมน้ำตายมาก แต่ควายไม่จมน้ำตาย ยกเว้นเจ้าของลืมปลดเชือกที่ผูกล่ามไว้กับคอก

ควายที่ทะเลน้อย (ทะเลสาบสงขลาต่อกับพัทลุง) ดำน้ำลงไปกินหญ้าและสาหร่ายใต้น้ำ ควายที่บราซิลถูกเลี้ยงไว้ในลุ่มน้ำอเมซอน มันว่ายน้ำไปหาหญ้าและสาหร่ายใต้น้ำกินได้ ควายพวกนี้ ถูกเรียกว่า ควายน้ำ
ควายไทยส่วนใหญ่ชอบแช่ปลัก คือหลุมโคลนแฉะๆ เพราะควายมีต่อมเหงื่อตามผิวหนังน้อย จึงขี้ร้อน เวลาร้อนก็จะอารมณ์ไม่ดี ทำให้มีอาการหงุดหงิดหรือดุร้าย   
ตั้งข้อสังเกตกันว่า ควายผสมพันธุ์บางฤดู จึงตกลูกในฤดูหนาว แต่ความจริง ควายผสมพันธุ์ทั้งปี แต่มีช่วงเวลาผสมพันธุ์มาก หลังฤดูเก็บเกี่ยว คือปลายพฤศจิกาฯ ถึงต้นมกราฯ ช่วงเวลานี้ ควายว่างจากการไถนา อาหารในนาก็อุดมสมบูรณ์

ควายถูกควบคุมในฤดูเพาะปลูก เจ้าของมักผูกควายไว้กับบ้าน ตัวผู้กับตัวเมียจึงไม่มีโอกาสพบกัน เมื่อพ้นฤดูเพาะปลูก ควายถูกปล่อยไปเจอกันในท้องทุ่ง






ควายถูกต้อนไปรวมกันเป็นฝูงใหญ่ในท้องทุ่ง ตอนเดินกลับบ้าน ควายจะแยกเข้าคอกใคร คอกมัน ถูกต้องครบถ้วน ไม่เคยผิดพลาด

นักวิชาการเคยตั้งข้อสงสัย...ควายจำบ้านตัวเองได้หรือ?

ควายจำกลิ่นมูลและกลิ่นเยี่ยวของตัวเองได้แม่นยำ เรื่องภาพคอก-ภาพบ้าน ยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการใดๆพิสูจน์


วิธีแก้ก็คือ ต้องไปลงนอนแช่ในปลัก ให้โคลนพอกผิวหนัง โคลนจะช่วยปกป้องความร้อนจากแสงแดด ปรับอากาศให้ควาย...รู้สึกสบาย สมัยนี้ กระบวนการที่ควายแช่ปลัก อาจเรียกว่า กาสรสปา





เวลาที่ควายไม่ได้แช่ปลัก หรือหาปลักแช่ไม่ได้...จึงเกิดเรื่องที่คนพูดกันว่า ควายไม่ชอบสีแดง...

ใครแต่งตัวสีแดงเข้าใกล้ อาจถูกควายไล่ขวิด

นักวิชาการบอกว่า ควายอาจจะตาบอดสีไม่เห็นว่าสีอะไร แต่โดยวิสัย เวลาแดดร้อน หากใครเข้าใกล้ด้วยอาการไม่เป็นมิตร ควายทุกตัวก็มักแสดงอาการระแวดระวัง

ดร.จรัญบอก สถานการณ์ควายไทยตอนนี้อยู่ในขั้นวิกฤติ เหลืออยู่ราว 1 ล้านตัว เพราะชาวนาไม่ใช้ควายไถนา แต่หันไปใช้ควายเหล็ก ซึ่งไม่เพียงกินน้ำมัน ยิ่งใช้นานยิ่งผุพัง...

ควายจึงถูกเลี้ยงไว้เป็นอาหาร เวลาถูกจูงเข้าโรงเชือด ข่าวควายหนีจึงมีบ่อย แล้วก็มีคนใจดีไปใช้เงินไถ่ชีวิต แล้วก็เอามาฝาก หรือทิ้งไว้ 

ถูกขโมยไปก็มาก ถูกเอาไปเปลี่ยนกับของอย่างอื่นก็มี ควายกลายเป็นสัตว์ไร้ค่า...ทางเศรษฐกิจ

การใช้ควายไถนา สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ประการ

1. พอประมาณ ใช้ควายไถนา ประหยัดต้นทุนต่ำ ใช้ประโยชน์จากวัสดุรอบตัวได้ ผลิตลูกได้เองไม่ต้องซื้อหา

2. ความมีเหตุผล ควายไถนาเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม ควาย  5 ตัว 7 ตัว พอเหมาะกับขนาดพื้นที่นา ขี้ควายใช้เป็นปุ๋ยใส่นาไร่เลี้ยงดิน ดินอุดมสมบูรณ์ ก็บำรุงพืชงดงาม รักษาระบบนิเวศ ไม่สร้างมลภาวะ ลดปัญหาภาวะโลกร้อน ฯลฯ

3. ความมีภูมิคุ้มกัน ช่วยชาวนาประหยัดไม่มีหนี้สิน ใช้เวลาเต็มที่ในการเพาะปลูก ไม่มีเวลามั่วสุมอบายมุข

คนจึงไม่ควรมองการเลี้ยงควายว่า...เป็นเรื่องล้าหลัง

ผมอ่านเรื่องควายไม่ได้เกลียดสีแดง...แล้วชักไม่แน่ใจ...สมัยเป็นเณรวัดเขาย้อย บิณฑบาตสายห้วยกระแทก เคยวิ่งหนีควายจีวรปลิวมาแล้ว...ไม่แน่ใจ ท่าทีหรือสีจีวร ค่อนแดง...ทำให้ควายไม่ไว้ใจ

ถึงวันนี้ ผมจึงไม่ชอบสีแดง...ด้วยเหตุเพราะรักตัวกลัวควาย...

ไม่ใช่เรื่องสีทางการเมืองแต่ประการใด

จริงๆแล้ว เห็นใจสีแดง โถ...อุตส่าห์เหนื่อยแรง บาดเจ็บล้มตาย ติดคุกไปก็มาก ช่วยพายเรือให้เขานั่ง พอเรือถึงฝั่งเขาก็ถีบหัวเรือทิ้ง
...

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมควาย


                               ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมควาย

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารนมหลายชนิดเพื่อตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น นมพร้อมดื่ม นมระเหยน้ำ นมข้น และนมเปรี้ยว เป็นต้น แต่ปัจจุบันกลับมีข้อจำกัดหลายประการในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างน้ำนมดิบ ส่งผลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารนมในประเทศไทยมองหาแหล่งน้ำนมดิบจากสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่นนอกจากวัว จึงกลายเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงสำหรับประเทศไทย เมื่อวันนี้ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SMEs ที่ใช้ชื่อว่ามูร์ร่าห์ฟาร์ม สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
โดยหันมาผลิตน้ำนมดิบจากกระบือหรือควาย พร้อมกับต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ได้ให้มีมูลค่าสูงยิ่งขึ้น จนกลายเป็นเนยแข็งมอสซาเรลลา (Mozzarella cheese) จากนมควายรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของตลาด ซึ่งมีสำนักงานกองทุนสนันสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา โดยดึงตัวผู้เชี่ยวชาญอย่าง รศ.ดร.วรรณา ตั้งเจริญชัย อาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการ "การปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัมผัสเนยแข็งมอสซาเรลลาจากน้ำนมกระบือ"

กว่าจะมีวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย รัญจวน เฮงตระกูลสิน เจ้าของบริษัท มูร์ร่าห์แดรี่ จำกัด กล่าวว่า มีความคิดอยากทำฟาร์มกระบือขึ้นเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว เพราะอาชีพเดิมที่ทำอยู่ไม่สร้างผลกำไร จึงเดินทางไปดูงานด้านฟาร์มกระบือนมและการแปรรูปนมในต่างประเทศ เช่น อิตาลี จีน บราซิล อินเดีย และบัลแกเรีย โดยคิดว่าเป็นช่องทางทำกินใหม่ที่ยังไม่มีใครในประเทศไทยเคยคิดทำ
จากนั้นจึงหาพื้นที่ทำฟาร์มและมาได้ที่ดินใน อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ประมาณ 100 ไร่ (ปัจจุบันขยายเป็น 400 ไร่) พร้อมด้วยกระบือนม (มูร์ร่าห์) สายพันธุ์อินเดีย 1 ฝูง เกือบ 50 ตัว ซึ่งต่อมาก็นำกระบือปลักหรือควายไทยมาเลี้ยงเพิ่ม และทดลองผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ปริมาณน้ำนมดีที่สุดและทนต่อโรคภัย
"ช่วงแรกก็ท้อเหมือนกัน เพราะควายให้ปริ มาณน้ำนมน้อยกว่าวัวมาก เรารีดได้วันละ 12-15 ลิตร/ตัว/วัน แต่ถ้าเป็นควายปลักรีดได้เพียงวันละ 1 ลิตร/ตัว/วัน แถมควายที่มีอยู่กว่า 300 ตัว จับรีดนมได้เพียง 10% เท่านั้น ขณะที่วัวรีดได้ 40 ลิตร/ตัว/วัน แถมน้ำนมที่ได้เมื่อเอาไปทดลองทำชีสก็พบว่าไม่ได้คุณภาพ โดยนักวิจัยบอกว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีเนื้อสัมผัสที่ไม่สม่ำเสมอ แถมแห้งและกระด้าง
นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการยืดตัวต่ำทำ ให้ตลาดไม่ยอมรับ แม้ว่าจะเป็นชีสสดกว่า ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศก็ตาม จึงไปขอความช่วยเหลือด้านองค์ความรู้จาก สกว. เพราะไม่สามารถไปหาซื้อเทคโนโลยีระดับสูงมาพัฒนาสินค้าได้อีก เนื่องจากลงทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 70-80 ล้านบาท" เจ้าของฟาร์มควายแห่งแรกของไทยกล่าว และชี้ให้เห็นถึงปัญหาเพิ่มอีกว่า เหล่านี้ยังไม่รวมถึงค่านิยมของคนไทยที่ไม่ค่อยบริโภคผลิตภัณฑ์จากควาย และไม่รู้ว่านมควายนั้นกินได้ แถมยังหอมมันไม่มีกลิ่นเหม็น ซึ่งจริงๆ แล้วข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับนมควายในประเทศอังกฤษระบุชัดว่า นม ควายมีคุณสมบัติทางสารอาหารดีกว่านมวัว นมแพะ นมแกะ ในปริมาณที่เท่ากัน โดยมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม และให้พลังงานสูง จึงเป็นก้าวต่อไปที่ทางฟาร์มต้องทำวิจัยร่วมกับ สกว.ต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาในจุดนี้
"วกกลับมาที่ปัญหาแรกคือ มอสซาเรลลาชีสไม่ได้คุณภาพ หลังจากทำวิจัยร่วมกันกับนักวิชาการ สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น โดยปรับปรุงคุณ
ภาพน้ำ นมให้เสถียรขึ้น และควบคุมความเป็นกรดด่าง หรือค่า PH รวมถึงอุณหภูมิให้คงที่ โดยค่า  PH ที่เหมาะสมหลังจากเติมเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปเพื่อทำชีสอยู่ที่ 5 และอุณหภูมิต้องนิ่งอยู่ที่ 41-42 องศา เราก็จะได้ชีสที่มีคุณภาพที่ตลาดยอมรับ แม้ว่ารสชาติอาจสู้ต่างประเทศไม่ได้ 100% แต่รับรองว่าเราสดกว่า ถูกกว่า ซึ่งขณะนี้เราส่งผลิตภัณฑ์เนยแข็งที่เนียนนุ่มนี้ให้กับการบินไทย โรงแรมต่างๆ เช่น เชอราตัน หัวหิน และบันยันทรี ภูเก็ต และกำลังขยายฐานการผลิตรองรับ ทั้งหมดต้องขอบคุณ สกว.ที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยอย่างพวกเราให้ลืมตาอ้าปากได้"
ขณะที่ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ รองผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า มอสซาเรลลาชีสจากนมควายนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในหน้าที่ของ สกว. ที่เราใช้งานวิจัยเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนคนไทย โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ให้เขามีความรู้ความเข้าใจ ยืนหยัดอยู่ได้ และขยายเป็นแกนนำด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต้องลงทุนเยอะ จนกลายเป็นหนี้สินแทนที่จะได้กำไร หรือช่วยพัฒนาประเทศ
"ของแปลกใหม่อย่างมอสซาเรลลาชีสจากนมควาย จำเป็นต้องมีงานวิจัยเข้าไปช่วยเสริมความเข้มแข็ง ทั้งทางด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อเปิดให้สังคมไทยยอมรับ ซึ่งผมมองว่ายังมีกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ อีกเยอะที่น่าสนใจและน่าจับตา เพียงแต่พวกเขายังก้าวเดินไม่แข็งพอ เพราะไม่มีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ทาง สกว.ก็พร้อมเป็นพี่เลี้ยงเสริมศักยภาพให้ โดยทั้งสองฝ่ายจะทำงานร่วมกันเพื่อไปให้ถึงความสำเร็จ และเรามีงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้เพื่องานนี้ราว 1,200 ล้านบาท